หลักของการเป็นเศรษฐี...ที่ก่อให้เกิดสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า ไม่ก่อความเดือดร้อนให้ตนเองและคนอื่น ไม่เป็นปัญหาสังคม ซึ่งหลักการนี้ท่านผู้รู้แจ้งแสดงไว้เมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ได้ผลถึงยุคปัจจุบัน

http://www.matichon.co.th/news/453432

ก.คลังเตรียมตั้งโต๊ะแจงเงินคงคลังวูบเหลือแค่ 7.49 หมื่นล้าน เผยต่ำสุดในรอบหลายปี จากปกติเฉลี่ยอยู่ระดับ 2 แสนล้าน ชี้เหตุเบิกจ่ายพุ่งกระฉูด เพื่ออัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่การจัดเก็บรายได้ต่ำเป้า…(http://www.matichon.co.th/news/453432)

ที่มา:http://www.komchadluek.net/news/crime/258593

รวบเครือข่ายยา“ไซซะนะ”แฉ"ดาราไทย-ไฮโซรถหรู"ร่วมแก๊งฟอกเงิน...ปส.ขยายผลรวบเครือข่าย“ไซซะนะ”ราชายาเสพติดลาว แฉดาราไทย-ไฮโซแก๊งรถหรูร่วมวงปาร์ตี้-ฟอกเงินเพียบ (http://www.komchadluek.net/news/crime/258593)

เรื่องเศรษฐกิจนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความอยู่รอดของมนุษย์ทุกคน แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน เรื่องนี้ก็สำคัญ เป็นเรื่องของปากท้อง จึงนึกถึงคำกล่าวที่ว่า กองทัพเดินด้วยท้อง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน เงิน เป็นสื่อกลางในการแลก เปลี่ยน ซื้อ ขาย สิ่งของ ปัจจัยต่างๆ ที่มนุษย์ต้องการตั้งแต่เรื่องปัจจัย 4 พื้นฐาน  จนถึงเรื่องฟุ่มเฟือยสารพัดล้วนต้องใช้เงินทั้งสิ้น 

ที่มา: http://www.nationtv.tv/main/content/social/378533759/

        ทุกคนจึงต้องทำมาหากิน มีอาชีพเพื่อให้เกิดรายได้มาหล่อเลี้ยงชีวิตตนเองและครอบครัว แต่ความอยากของคนนั้นมีไม่สิ้นสุด  เห็นได้จากข่าวโซเซี่ยลออกมาแทบทุกวันเกี่ยวกับการหาเงินที่ไร้ศีลธรรม เพราะอยากรวย แต่ไร้กรอบความคิดของสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นถูก ๑๐ ข้อ https://goo.gl/zyT4bU) จึงไม่สามารถเอาชนะความโลภ ความอยาก ซึ่งเป็นกิเลสที่มีอยู่ในใจของตนได้ 

       วันนี้จึงอยากจะมาเล่าถึงหลักของการเป็นเศรษฐี หรือหัวใจเศรษฐี ที่ก่อให้เกิดสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า ไม่ก่อความเดือดร้อนให้ตนเองและคนอื่น ไม่เป็นปัญหาสังคม ซึ่งหลักการนี้ท่านผู้รู้แจ้งแสดงไว้เมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ได้ผลถึงยุคปัจจุบัน 

หลักการของเศรษฐศาสตร์ คือการหา การเก็บ การใช้ ของชาวโลกมีแค่ 3 เรื่อง
การหาทางโลกมักไม่ค่อยมีกติกา ขอแค่ไม่ผิดกับ (อาจผิดศีล) ทางโลกไม่คำนึงถึงศีลธรรม การทำขั้นต้น ก็คือ ปัจจัย 4 แต่ความอยากของมนุษย์นั้นคาดประมาณไม่ได้  ศีลธรรมเลยถูกลืมแล้วการแสวงหาทางโลกไมค่อยแตกต่างจากการหากินของสัตว์เดรัจฉาน ถ้าไม่มีศีลธรรม 

       เรื่องนี้เริ่มจากนายทีฆชาณุ ได้ตระหนักว่า พวกตนต่างต้องดิ้นหา เก็บ ใช้ และหากไม่ระมัดระวังมักไม่ได้นำความสุขมากให้เสมอไป เขาจึงนำคำถามไปทูลถามพระพุทธเจ้า 

       นายทีฆชาณุ รู้สถานภาพของตัวเองว่าเป็นคฤหัสถ์ ยังแสวงหาความสุขอย่างชาวโลก ยังต้องเลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย เลี้ยงลูกน้อง เลี้ยงเพื่อนอยู่ ยังไม่สามารถออกบวชได้อย่างพระองค์ แต่เขาสงสัยอยู่ ๒ ข้อ ว่าทำอย่างไร ถึงจะพอมีความสุขในชีวิตนี้ได้ และเมื่อตายไปแล้วก็ยังมีสุขในชีวิตหน้าได้อีกด้วย 
       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงตอบ และคำตอบที่ทรงตอบง่ายๆ นี่แหละได้กลายมาเป็นหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ

ที่มา: https://goo.gl/Gx17YV

หลักเศรษฐศาสตร์เพื่อความสุขในภพนี้ มีหลักธรรม ๔ ประการ 

๑. อุฏฐานสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความหมั่นเพียร พูดง่ายๆ คือ "หา" เป็น
๒. อารักขสัมปทา คือ "เก็บ" เป็น
๓. กัลยาณมิตตตา คือ "สร้างคน" เป็น
๔. สมชีวิตา คือมีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสมซึ่งก็คือ "ใช้" เป็น

       ใครก็ตามที่รักษาธรรม ๔ ข้อนี้ได้ รับรองเป็นสุขแน่ๆ เจริญแน่ๆ เพราะนี่คือหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ 

๑. อุฏฐานสัมปทา หมายถึงการเป็นผู้ขยันในการหา ไม่เกียจคร้าน ในการงานที่จะต้องทำ แล้วช่วยกันทำเป็นทีม ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณางานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น ให้สามารถทำได้ สามารถจัดได้ แล้วก็บริหารงานเป็น 

๒. อารักขสัมปทา เป็นเรื่องของการเก็บ บุคคลในโลกนี้ มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม ต้องให้ได้มาด้วยความเป็นธรรมด้วย จากนั้นบุคคลพึงรักษาคุ้มครองโภคทรัพย์นั้นด้วยการคิดว่า จะอารักษ์โภคทรัพย์เหล่านี้ของเราอย่างไร ไม่ให้ถูกราชภัย ไม่ถูกโจรภัย ไม่ถูกภัยธรรมชาติ และไม่ให้ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักมาลักไป ก็คือการรักษาทรัพย์เอาไว้ให้ได้นั่นเอง

๓. กัลยาณมิตตตา หมายถึง กุลบุตรผู้วางตัวเหมาะสม เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ด้วยศีล ด้วยจาคะ ด้วยปัญญา นอกจากนั้นยังคอยศึกษาสัมปทา ศึกษาศีล ศึกษาจาคะ ศึกษาปัญญาจากท่านผู้ถึงพร้อมตามสมควร
       สิ่งเหล่านี้เป็นไปก็เพื่อการทำงานเป็นทีม คือ ในระหว่างที่ทำมาหากินอยู่นั้น ไม่ได้แสวงหาคนเดียว แต่ให้หากันเป็นทีม ไม่ว่าจะเป็นทีมอย่างชนิดมีลูกน้องมีผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือจะเป็นเครือข่ายบริษัทห้างร้านข้ามชาติก็ตามที ต่างถือว่าเป็นทีมด้วยกันทั้งสิ้น

        การหากินเป็นทีมนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่ต้องทำงานร่วมคนที่มีศีลมีธรรม แล้วก็เป็นผู้ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นผู้เสียสละ ไม่เลือกคบหรือสร้างเครือข่ายเดียวกับคนที่ตระหนี่ เห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ แต่เลือกคบผู้ที่มีนิสัยเห็นแก่ส่วนรวม
        เพราะฉะนั้นในเชิงเศรษฐศาสตร์ ไม่ใช่เพียงการหา การเก็บ การใช้เท่านั้น แต่ต้องรวมถึงการสร้างมิตรดี สร้างเครือข่ายดีด้วย มีสิ่งเหล่านี้แล้ว จึงค่อยมาว่ากันถึงการใช้ และในการใช้ก็ให้ใช้ร่วมกับคนดีเข้าไป ถ้าเป็นอย่างนี้ เศรษฐกิจมีแต่จะเฟื่องฟู

๔. สมชีวิตา คือ กุลบุตรผู้รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้ว เลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือย แต่ก็ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยการคำณวนการใช้จ่ายให้พอดี ถ้าผู้ใดมีรายรับน้อย แต่เลี้ยงชีพอย่างฟุ่มเฟือย ก็จะมีผู้กล่าวหาว่า ผู้นั้นใช้จ่ายโภคทรัพย์เหมือนคนกินผลมะเดื่อ ซึ่งโบราณก็เล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ว่า คนที่ไม่รู้จักกินผลมะเดื่อนั้น จะเขย่ามะเดื่อทั้งต้นให้ผลสุกๆ ร่วงลงมาจำนวนมาก แต่แล้วก็กลับหยิบมากินเป็นบางผลเท่านั้น แต่ถ้าผู้ใดมีรายรับมากแต่กลับเลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวหาได้ว่า กุลบุตรผู้นั้นตายอย่างไม่สมฐานะ

       การรู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะไม่ให้ฟุ่มเฟือยเกินไป แต่ก็ไม่ให้ฝืดเคืองเกินไปด้วย จึงเรียกว่า สมชีวิตา

  สุดท้าย โปรดจำไว้ว่าชีวิตจะสมดุล มีความสุข เราต้องทำมาหากินโดยไม่ก่อความเดือดร้อนเบียดเบียนตนเอง เบียดเบียนผู้อื่น หรือก่อปัญหาให้สังคม ประเทศชาติ...หลักการพื้นฐานที่ดีงาม ครบถ้วนมีอยู่แล้ว จำสั้นๆ ง่ายๆ  “อุ อา กะ สะ” ทำตามหลักนี้แล้วชีวิตอยู่สุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า ชัวร์ๆ


ขอบคุณข้อมูล
1.http://www2.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=3500
2.http://www.matichon.co.th/news/453432
3.http://www.komchadluek.net/news/crime/258593

หลักของการเป็นเศรษฐี...ที่ก่อให้เกิดสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า ไม่ก่อความเดือดร้อนให้ตนเองและคนอื่น ไม่เป็นปัญหาสังคม ซึ่งหลักการนี้ท่านผู้รู้แจ้งแสดงไว้เมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ได้ผลถึงยุคปัจจุบัน หลักของการเป็นเศรษฐี...ที่ก่อให้เกิดสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า ไม่ก่อความเดือดร้อนให้ตนเองและคนอื่น ไม่เป็นปัญหาสังคม ซึ่งหลักการนี้ท่านผู้รู้แจ้งแสดงไว้เมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ได้ผลถึงยุคปัจจุบัน Reviewed by Mali_Smile1978 on 02:45 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.