ผลเสียหายที่ร้ายแรงที่สุดของการลักทรัพย์ คือความพินาศย่อยยับในคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์...

       
ที่มา: https://www.isranews.org

ที่มา:http://www.thairath.co.th/content/829193


        เราจะเห็นปัญหาความไม่ดีต่างๆ ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  ตั้งแต่ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการคดโกง คอรัปชั่น ปัญหาคนหลอกลวงกัน พูดจาเชื่อถือไม่ได้ ปัญหาค้ามนุษย์ ข่มขืน ปัญหายาเสพย์ติดที่ระบาดไปตามชุมชน ฯลฯ 

        ถ้าพิจารณาสาวไปถึงต้นเหตุจะพบว่า เริ่มต้นมาจากคนที่ไม่รักษาศีล ๕ ให้เป็นปรกติ เมื่อศีล ๕ บกพร่องไปทีละเล็กทีละน้อยและกระทำผิดจนมีนิสัยใจคอไม่รู้อะไรดี อะไรชั่ว เมื่อสังคมมีคนเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาของสังคมจึงมีมากเป็นเงาตามตัว

        จากกรณีที่นายสุภัฒ สงวนดีกุล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ถูกจับกุมตัวที่ประเทศญี่ปุ่น หลังก่อเหตุขโมยภาพวาดมูลค่า 15,000 เยน (ประมาณ 4,500 บาท) จากโรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองเกียวโต



        นายสุภัฒอ้างว่า ก่อนเกิดเหตุ ตนไปดื่มสังสรรค์กับเพื่อนชาวญี่ปุ่นจนเมาขาดสติ ไม่รู้ตัว กระทั่งเกิดเหตุลักขโมยภาพเขียนขึ้น ทั้งนี้ เมื่อกระทำผิดจริงก็ขอน้อมรับ พร้อมขอลาออกจากตำแหน่งราชการ โดยจะได้ยื่นใบลาออกให้ถูกต้องต่อไป... (https://hilight.kapook.com/view/148560)

จากเหตุการณ์ข่าวอื้อฉาวดังกล่าว ที่นายสุภัฒ ทำผิดต่อทั้งวินัย จริยธรรมของข้าราชการและผิดศีลธรรมขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์   แม้การกระทำจะเป็นเรื่องส่วนตน แต่มีผลกระทบที่พ่วงจากการกระทำเสื่อมเสียดังกล่าวต่อภาพลักษณ์ หน้าตาและชื่อเสียงของประเทศไทย นับเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นกับชีวิตของผู้กระทำกรรม 
        ส่วนในฐานะเราผู้ร่วมสังคม เพื่อให้การเสพข่าวได้ประโยชน์แท้จริง ไม่ใช่เป็นการซ้ำเติม จึงจะขอถือโอกาส ได้ขบคิดพิจารณาหาข้อคิด เพื่อนำมาเตือนตนและสอนบุตรหลานต่อไป

        จากเรื่องนี้มีประเด็นน่าคิดและน่าทำความเข้าใจในพฤติกรรมของนายสุภัฒ ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรที่ทำให้ท่านได้กระทำพฤติกรรมขโมยเช่นนี้  เพราะ 

๑. ไม่ใช่ "ขโมยโดยสันดาน" เกิดฉับพลัน ไม่มีการวางแผน
๒. ภาพนั้น "ธรรมดาๆ" ไม่มีราคาค่างวดอะไร
๓. ไม่เคยมีประวัติและพฤติกรรมด้านนี้มาก่อน
๔. มีประวัติทำงาน "นิสัย-ความประพฤติ" ใช้ได้มาตลอด
        จึงมีนักวิชาการทางการแพทย์พูดถึงกรณีนี้ ว่าเข้าลักษณะโรค "อีหยิบ" คือโรคเคลปโทมาเนีย

        โรคนี้เกิดแบบไม่ตั้งใจมาก่อน เห็นอะไรที่อยากได้ มันจะจี๊ดทันที ต้องหยิบฉวยสนองอยากเดี๋ยวนั้นจึงจะหาย จะเป็นกับสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ คนดังๆ มีชื่อเสียง บางคนร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี ถูกจับข้อหาจิ๊กของ เพราะโรคอีหยิบนี้ มีมากต่อมาก (ที่มา: https://goo.gl/aCAfa5)

        ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการตั้งข้อสังเกตเพื่อทำความเข้าใจต่อพฤติกรรมเพียงมุมมองหนึ่งเท่านั้น แต่อีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจศึกษาต่อพฤติกรรมนายสุภัฒ ในแง่มุมทางพุทธศาสนา คือโทษของการขาดมนุษยธรรม 

ที่มาภาพ: https://goo.gl/7VQFvl


        มนุษยธรรม หมายถึง "ธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์สมบูรณ์" คือเป็นมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งได้แก่ศีล ๕ 

  วันนี้ขอเล่าถึงเรื่องโทษแห่งการลักขโมย 


“ผู้มีอำนาจวาสนา หากว่าไม่มีศีล 
ย่อมไม่อาจรักษาลาภยศของตนไว้” 

       คำกล่าวนี้คงไม่เกินจริงเพราะจากเหตุการณ์ของนายสุภัฒ และเรื่องที่จะเล่าถึงต่อไปนี้...เมื่อปุโรหิตผู้ยิ่งใหญ่ได้ทดลองขโมยทรัพย์ของผู้อื่น ขอบอกว่าเรื่องนี้ อ่านแล้วสนุกได้ข้อคิดเรื่องศีลดีมากๆ ไปติดตามกันเลย 
      ปุโรหิตผู้หนึ่งของพระราชา ได้เกิดความสงสัยว่า ถ้าผิดศีลแล้วจะเป็นอย่างไร? จึงได้ทดลองด้วยการขโมยเงินหลวงไปวันละ ๑ กหาปณะ
  ในวันแรก และสันที่ ๒ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ทั้งหลายยังมีความยำเกรงในตัวปุโรหิต ด้วยเห็นว่าเป็นถึงราชครู แต่พอวันที่ ๓ เจ้าหน้าที่ก็หมดความยำเกรง ร้องประกาศขึ้นว่า “ขโมย ขโมย” แล้วจับตัวปุโรหิตไปถวายพระราชา
ที่มาภาพ: https://goo.gl/7VQFvl

  ในขณะที่เดินไปตามทางนั้น ปุโรหิตได้เห็นพวกหมองูแสดงการเล่นงูอยู่ งูนั้นเป็นงูพิษ แต่ไม่กล้ากัดใคร เพราะถูกสะกดไว้ด้วยอำนาจของหมองู แต่ผู้คนทั้งหลายกลับพากันชื่นชมงูนั้นว่า งูตัวนี้ดี เป็นงูมีศีล ไม่กัดใคร ปุโรหิตจึงคิดอยู่ในใจว่า แม้แต่งูซึ่งไม่กัดใคร เพราะอำนาจของหมองู ยังได้รับการชื่นชมว่าเป็นงูดี งูมีศีล หากมนุษย์เช่นเราเป็นผู้มีศีล คงจะดียิ่งขึ้นไปอีก

        เมื่อเข้าเฝ้าพระราชา ปุโรหิตได้กราบทูล เหตุที่ทำการขโมยเงินหลวง? ว่า ทำไปเพื่อจะทดลองดูว่า เมื่อผิดศีลแล้วจะเป็นอย่างไร? เมื่อก่อนสงสัยว่า ที่องค์ราชานับถือข้าพระองค์ ที่ประชาชนยำเกรง เป็นเพราะชาติตระกูล ศิลปวิทยา ความเป็นปุโรหิต หรือเพราะศีลกันแน่ มาบัดนี้ ข้าพระองค์ไดทราบแล้วว่า เป็นเพราะศีลนั่นเอง

ที่จริงปุโรหิตมีทรัพย์สมบัติที่ได้มาจากบิดา ที่หามาด้วยตนเอง และทรัพย์สมบัติที่พระราชาพระราชทานให้ก็ดี ปุโรหิตมีทรัพย์สมบัติอยู่เป็นอันมาก แต่ที่ขโมยเงินเช่นนี้ เพื่อทดลองผิดศีลดู และนี่เองจึงทำให้ปุโรหิตได้รู้ว่า ศีลนั้นสูงกว่าชาติตระกูล สูงกว่าทรัพย์สมบัติใดๆ ทั้งสิ้น

        จากนั้นปุโรหิตได้ทูตขออนุญาตจากพระราชา ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ สมานตั้งมั่นอยู่ในศีล และปฏิบัติกัมมัฏฐาน จนได้สำเร็จอภิญญาสมาบัติ เมื่อละจากโลกแล้วได้ไปเกิดในชั้นพรหมโลก

        ปุโรหิตผู้มีปัญญา ได้รู้ซึ้งแล้วว่า อำนาจ วาสนา หรือทรัพย์สมบัติใดๆ ก็ไม่มีความหมาย ไม่อาจช่วยอะไรได้ ยามที่เขาได้ชื่อว่าเป็นขโมย

        น่าคิดนะ ถ้าหากการลักทรัพย์ในครั้งนี้ มิใช่เพียงการทดลอง หากแต่เป็นการกระทำด้วยความโลภ หรือความเผลอสติ เรื่องนี้คงต้องจบลงอย่างน่าอัปยศอดสูแน่นอน

        ในที่สุด จุดจบอันร้ายแรงที่สุดนั้น ย่อมมิใช่อยู่ที่ความเสียหายในทรัพย์สินของทางราชการ หรือโทษทัณฑ์ทางกฎหมายที่ปุโรหิตจะต้องได้รับ หากแต่อยู่ที่ความพินาศย่อยยับในคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์  นี่คือผลเสียหายที่ร้ายแรงที่สุดของการลักทรัพย์
        จากเรื่องราวที่เล่ามา ทำให้เห็นว่า แม้เพียงผิดศีลข้อเดียวยังน่ากลัวมากมายนักหนา ดังนั้น เรามารักษาศีลด้วยกันเตอะ


ที่มาภาพ: https://goo.gl/7VQFvl

        การรักษาศีล ๕ เป็นปรกตินับเป็นความดีเบื้องต้น ตั้งแต่ระดับครอบครัว แล้วรวมกันมาเป็นคนดีของคนในสังคมทุกระดับ จนถึงสังคมประเทศชาติ...


ขอบคุณข้อมูล
- https://hilight.kapook.com/view/148560
- https://goo.gl/aCAfa5
- พระธรรมเทศนาพระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว),ศีล ๕ สำหรับเยาวชนและการแก้ไขเศรษฐกิจชาติ. ๒๕๕๓.
พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโก ป.ธ.๙, ศีล...เป็นที่ตั้งแห่ความดีงาม. ๒๕๔๒.



ผลเสียหายที่ร้ายแรงที่สุดของการลักทรัพย์ คือความพินาศย่อยยับในคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์... ผลเสียหายที่ร้ายแรงที่สุดของการลักทรัพย์ คือความพินาศย่อยยับในคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์... Reviewed by Mali_Smile1978 on 04:23 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.